การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

1.  ความหมายของ E-book         

E-book เป็นชื่อที่เรียกกันจนชินของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  โดยย่อมาจาก  คำว่า  Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายหนังสือจริง  

2. โครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ประกอบด้วย 

      1) ปกหน้า (Front Cover) 

      2) คำนำ(Introduction) 

      3) สารบัญ (Contents) 

      4) เนื้อหา (Pages Contents) 

      5) อ้างอิง(Reference) 

      6) ปกหลัง (Back Cover) 

3. โปรแกรมที่ใช้ในการสร้าง

       โปรแกรมที่ใช้สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีอยู่หลายโปรแกรม ได้แก่

         1) โปรแกรมชุด Flip Album 

         2) โปรแกรม DeskTop Author 

         3) โปรแกรม Flip Flash Album 

      ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสาหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารเพื่ออ่านไม่ได้ ประกอบด้วย 

      - โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ Flip Viewer 

      - โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader 

      - โปรแกรมชุด Flip Flash Album จะมีแฟ้มนามสกุล .swf ต้องใช้โปรแกรม Flash Player

4. ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป

1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ(รักษาทรัพยากรธรรมชาติ)

2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้

3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้

4. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้

5. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำประหยัด

6. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถสั่งพิมพ์ (print) ได้

7. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่มสามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)

8. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาได้สะดวก ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ ใน handy drive หรือ CD

5. ประโยชน์ของ E-BOOK 

1. ช่วยให้สามารถย้อนกลับมาอ่านได้และสามารถเลือกอ่านได้ตามเวลา-สถานที่ที่ตนเองสะดวก

2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพและเสียง ทำให้เกิดความตื่นเต้นและไม่เบื่อหน่าย

3. สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี

4. สามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังศึกษา  

6. ข้อจำกัดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ถึงแม้ว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีข้อดีที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอนมากมายแต่ก็ยังมีข้อจากัดด้วยดังต่อไปนี้

1. คนไทยส่วนใหญ่ยังคงชินอยู่กับสื่อที่อยู่ในรูปกระดาษมากกว่าอีกทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สามารถใช้งานได้ง่ายเมื่อเทียบกับสื่อสิ่งพิมพ์และความสะดวกในการอ่านก็ยังน้อยกว่ามาก

2. หากโปรแกรมสื่อมีขนาดไฟล์ใหญ่มากๆ จะทำให้การเปลี่ยนหน้าจอมีความล่าช้า

3. การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี ผู้สร้างต้องมีความรู้และความชำนาญในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการสร้างสื่อดีพอสมควร

4. ผู้ใช้สื่ออาจจะไม่ใช่ผู้สร้างสื่อฉะนั้นการปรับปรุงสื่อจึงทาได้ยากหากผู้สอนไม่มีความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์

5. ใช้เวลาในการออกแบบมากเพราะต้องใช้ทักษะในการออกแบบเป็นอย่างดีเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพ

7. การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จัดว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจ จากนักการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา E-Book จะครอบคลุมหนังสือทั่วๆ ไปที่จัดทำแล้วสามารถอ่านได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ ในการอ่านมีโปรแกรมในการอ่านโดยเฉพาะตารางอิเล็กทรอนิกส์จะเป็น Electronic Book ประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องนำมาจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสังคมการเรียนรู้ในปัจจุบัน

    ทุกประเทศเห็นความสำคัญในการจัดทำ E-Book เพื่อประกอบการเรียนการสอนโดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นตัวช่วยดำเนินการ มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อนำมาจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนมากมาย บางบริษัทดำเนินการให้บริการทั้งการติดตั้งที่สถานที่ศึกษาและให้บริการในระบบอินเตอร์เน็ต ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา มหาวิทยาลัยเปิดจะได้เปรียบในการใช้การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยไม่มีข้อจากัดต่างๆ ในเรื่องของความไม่พร้อมของผู้เรียน ระยะทางของการมาเรียนหรือเวลาที่จะต้องเรียน